วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



การป้องกันโรคเอดส์ ฉบับการตูน








ขอขอบคุณวีดีโอจาก  กองควบคุมโรคเอดส์  วัณโรค  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=hza-4lUGGeQ

ถุงยางอนามัยพูดได้  อยากรู้ต้องดู



อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=qERZPGtwHyU

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

           

เผยแพร่ความรู้ในรูปแบบ powerpointอยากมีความรู้ คลิ๊กลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ



ลิงก์powerpoint http://www.slideshare.net/BowBow580146/hiv-54845014?related=3

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558




แผ่นพับรักปลอดภัย  ถุงยางอนามัยเอาอยู่

          




การป้องกันโรคเอสไอวี ( โรคเอดส์ )

                ต้องยอมรับว่า หนึ่งในโรคติดต่อที่คนรู้จักความน่ากลัวของมันเป็นอย่างดี ก็คือ " โรคเอดส์ " และรู้กันดีว่า " โรคเอดส์ " เป็นโรคร้ายแรงที่ยังไม่มีตัวยาใดมารักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังพบผู้ติดเชื้อ เอดส์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ทราบว่าโรคเอดส์คืออะไร และสามารถติดต่อได้ทางใด
2.เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ติดเชื่อเอดส์
3.เพื่อเผยแพร่การป้องกันโรคเอดส์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. กลุ่มเป้าหมายทราบว่าโรคเอดส์คืออะไร และสามารถติดต่อได้ทางใด
2.กลุ่มเป้าหมายทราบปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

3.กลุ่มเป้าหมายทราบการป้องกันโรคเอดส์ 

โรคเอดส์คืออะไร?

              โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่างๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด 

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร?


โรคเอดส์ สามารถติดต่อได้ ทาง คือ

           1.การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย ทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิง จะเป็นช่องทางธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติก็ตาม ล้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติด โรคเอดส์ทั้งนั้น ซึ่งมีข้อมูลจากกองระบาดวิทยาระบุว่า ร้อยละ 83 ของผู้ติดเชื้อเอดส์ รับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

           2.การรับเชื้อทางเลือด โอกาสติดเชื้อ เอดส์ พบได้ กรณี คือ

          - ใช้เข็มฉีดยา หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น

          - รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด แต่ปัจจุบันเลือดที่ได้รับการบริจาคมา จะถูกนำไปตรวจหาเชื้อเอดส์ก่อน จึงมีความปลอดภัยเกือบ 100%

           3.ติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูก เกิดจากแม่ที่มีเชื้อเอดส์และถ่ายทอดให้ทารก ในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และภายหลังคลอด ปัจจุบันมีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก โดยการทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์เหลือเพียงร้อยละ แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจเลือดก่อนแต่งงาน

          นอกจากนี้ โรคเอดส์ ยังสามารถติดต่อผ่านทางอื่นได้ แต่โอกาสมีน้อยมาก เช่น การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ทำความสะอาดการเจาะหูโดยการใช้เข็มเจาะหูร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์,การสักผิวหนัง หรือสักคิ้ว เป็นต้น ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นการติดต่อโดยการสัมผัสกับเลือด หรือน้ำเหลืองโดยตรง แต่โอกาสติด โรคเอดส์ ด้วยวิธีนี้ต้องมีแผลเปิด และปริมาณเลือดหรือน้ำเหลืองที่เข้าไปใน

ร่างกายต้องมีจำนวนมาก

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์ มีหลายประการ คือ

           1.ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์มาก โอกาสติด โรคเอดส์ ก็จะสูงขึ้นไปด้วย โดยเชื้อเอดส์ จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด

           2.หากมีบาดแผล จะทำให้เชื้อเอดส์เข้าสู่บาดแผล และทำให้ติด โรคเอดส์ ได้ง่ายขึ้น

           3.จำนวนครั้งของการสัมผัส หากสัมผัสเชื้อโรคบ่อย ก็มีโอกาสจะติดเชื้อมากขึ้นไปด้วย

           4.การติดเชื้ออื่นๆ เช่น แผลริมอ่อน แผลเริม ทำให้มีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่แผลจำนวนมาก จึงรับเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเป็นหนทางให้เชื้อเอดส์เข้าสู่แผลได้เร็วขึ้น

           5.สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ในขณะนั้น ก็ย่อมมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้ง่ายขึ้น

ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์  ได้อย่างไร?

การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื่อเอสไอวีมีหลายวิธี ได้แก่
1. เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาของตัวเอง ต้องใช้ถุงยางอนามัยเสมอ ฝ่ายชายจะมีเพศสัมพันธ์กับใครต้องใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นนิสัยโดยไม่มีข้อยกเว้น ฝ่ายหญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับชายใดต้องให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งโดยไม่มีข้อยกเว้น ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมใช้ต้องปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์โดยเด็ดขาด รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและทางทวารหนักด้วยก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเช่นกัน
2. ฝ่ายชายไม่ควรใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิงที่ไม่ใช่ภรรยา เพราะอาจมีเชื่อไวรัสในน้ำเมือกจากช่องคลอดของฝ่ายหญิง ซึ่งถ้าเข้าปากฝ่ายชายแล้วอาจทำให้ฝ่ายชายติดเชื่อได้ เคยมีรายงานการติดเชื่อโดยวิธีนี้แล้ว ถึงแม้จะไม่มากเท่าการติดเชื้อจากน้ำอสุจิของฝ่ายชายก็ตาม


3.หลีกเลี่ยงการจูบปากกับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ทราบว่าเป็นพาหะนำเชื้อหรือไม่ ถึงแม้ว่าในน้ำลายจะมีโอกาสน้อยที่จะมีเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ก็ไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าบังเอิญมีแผลภายในช่องปากก็อาจเป็นทางเข้าของเชื้อไวรัสได้



4. อย่าใช้การฉีดยาเสพติดชนิดเข้าเส้น อย่าใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับคนอื่น


5. หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆของร่างกาย เพราะบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ

6. บุคคลากรทางการแพทย์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุเข็มตำ ต้องรีบแจ้งหน่วยที่ดูแลทางการติดเชื้อเพื่อรับยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที วิธีนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มาก

7. ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ยังอยู่ในระยะของการศึกษาวิจัย ยังไม่มีการผลิตออกมาใช้ในวงกว้าง ในระยะใกล้ๆนี้จึงไม่สามารถใช้วัคซีนในการป้องกันได้



8. ต้องเตือนตนเองไว้เสมอว่า เราไม่สามารถรู้ว่าใครติดเชื้อไวรัสเอสไอวีจากการดูลักษณะภายนอก คนที่ดูภายนอกสวยงามหรือหล่อเหลาสะอาดสะอ้านเพียงใดก็ไม่สามารถไว้ใจได้ว่า เขาหรือเธอจะไม่ใช่พาหะนำโรคมาสู่เรา ต้องป้องกันไว้เสมอ

9. ก่อนแต่งงานกับใคร ต้องตรวจแล้วของผู้ที่จะมาแต่งงานกับเราก่อนเสมอทั้งหญิงและชายว่า มีเชื้อโรคอะไรหรือเป็นพาหะของโรคใด ทั้งนี้ไม่เฉพาะโรคเอดส์แต่รวมถึง โรคซิฟิลิส และโรคไวรัสตับอักเสบด้วย




ถุงยางอนามัยป้องกันโรคเอดส์ได้แค่ไหน?

ถุงยางอนามัย สามารถป้องกัน โรคเอดส์ ได้แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ว่าถูกต้องหรือไม่   เลือกขนาดใช้ให้เหมาะสม ถ้าขนาดไม่พอดี ก็อาจฉีดขาด หรือหลุดออกง่าย ซึ่งจะไม่สามารถป้องกันโรคเอดส์ อย่างได้ผล 


โรคเอดส์ มีกี่ระยะ?

เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น ระยะ คือ

           1.ระยะไม่ปรากฎอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ จากระยะแรกเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ

           2.ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) หรือระยะเริ่มปรากฎอาการ (Symptomatic HIV Infection) ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในเห็น เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า เดือนมีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปากเป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลายเป็นเอดส์ระยะเต็มขึ้นต่อไป

           3.ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือ ระยะ โรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า "โรคติดเชื้อฉวยโอกาส"ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็จะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรงเป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี

เมื่อเป็นเอดส์ควรพบแพทย์เมื่อใด?


              ถ้าทราบอยู่แล้วว่าติดเชื่อเอสไอวีแต่ยังไม่มีอาการ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสตามนัดโดยสม่ำเสมอ อย่าให้ขาดยาโดยเด็ดขาด เพราะเชื้อจะเกิดดื้อยา และยาที่เคยใช้ได้ผล จะไม่ได้ผลอีกต่อไป    ถ้ามีอาการผิดปกติจากเดิมเกิดขึ้น เช่น น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพีย เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งทั่วตัว มีไข้เรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง มีฝ้าขาวที่ลิ้น มีผื่นหรือเชื้อราตามผิวหนัง มีโรคงูสวัด ขาอ่อนแรง หรืออาการชัก อาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคเอดส์ ควรไปพบแพทย์ทันที

โรคเอดส์ รักษาได้หรือไม่?

              ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี ประเภทคือ

           1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์

           2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV

           3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

          หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

ข้อควรปฏิบัติหากได้รับเชื้อเอดส์?


          ผู้ที่เป็น โรคเอดส์ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และควรดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ควรวิตกกังวล เพราะหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะสามารถมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี โดยมีข้อปฏิบัติคือ

           1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

           2.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

           3.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับเชื้อ หรือแพร่เชื้อเอดส์

           4.งดการบริจาคเลือด อวัยวะ และงดใช้สิ่งเสพติดทุกชนิด

           5. หากเป็นหญิง ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ถึง 30%

           6. ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด ไม่กังวล รวมทั้งอาจฝึกสมาธิ

           7.อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเอดส์ เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

           กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 0-2286-0431, 0-2286-4483

           โรงพยาบาลบำราศนราดูร โทร. 0-2590-3737, 0-2590-3510

           กองควบคุมโรคเอดส์ กทม. โทร. 0-2860-8751-6 ต่อ 407-8

           มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์ โทร. 0-2277-7699, 0-2277-8811 (โทรฟรี)

           มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โทร. 0-2372-2222


อ้างอิง

http://health.kapook.com/view2757.html
http://www.siamhealth.net
https://th.wikipedia.org
http://www.baanjomyut.com/
http://www.adamslove.org/